Skip to content

ที่ทอผ้า หรือฟืม (ภาษาพื้นบ้าน)

เลขทะเบียนวัตถุ  : วบล.2563.011

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวัตถุ : ที่ทอผ้า หรือฟืม (ภาษาพื้นบ้าน)
เลขลำดับ : วบล.2563.011
หมวดหมู่ : เครื่องมือเครื่องใช้
ประเภท : ไม้
สภาพ : สมบูรณ์
แบบสมัย/อายุ : ของเก่า อายุประมาณ 150 ปี
ลักษณะทางกายภาพ : ลักษณะเป็นซี่แนวตั้งวางเรียงอยู่ในกรอบไม้

ส่วนที่ 2 การบันทึกข้อมูล

ผู้บันทึกข้อมูล : นายรุจนศักดิ์ จินะ
วันที่บันทึกข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2563
ผู้บันทึกภาพ : นายต้นตะวัน สุวรรณศรี
รหัสภาพถ่าย :
สถานที่จัดเก็บวัตถุ : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา วัดบ้านหลุก

ส่วนที่ 3 คำอธิบายวัตถุ

คำอธิบายวัตถุ :
ฟืม ขนาดความกว้าง 12.5 เซนติเมตร ความยาว 40.5 เซนติเมตร เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการทอผ้า ประกอบด้วยซี่แนวตั้งวางเรียงกัน อยู่ในกรอบไม้ ใช้สำหรับกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ชิดเป็นระเบียบ หากไม่มีฟืมแล้ว ไม่สามารถทอผ้าให้เป็นผืนได้โดยเฉพาะผ้าที่มีความกว้างและมีเส้นด้ายที่เล็กละเอียด ในการทอผ้าฟืมจะถูกร้อยด้ายยืนเข้าไปตั้งแต่แรกก่อนจะทอ เรียกว่า ร้อยรูฟืม ความตึงของเส้นด้ายยืนจะช่วยพยุงน้ำหนักของฟืมเอาไว้ ฟืมชิ้นนี้เป็นของที่ชาวบ้านในชุมชนมอบให้กับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา วัดบ้านหลุก
แหล่งที่มาของข้อมูล : นายองอาจ เรือนแว้
ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมธินี ศรีบุญเรือง
วันที่เรียบเรียงข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2563
English English Thai Thai